วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทิน 9 สอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา
ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา  (เวลา 8.00 - 11.30 น)
1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ    ศีลธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่าการกระทำแบบไหนเป็นการกระทำที่ถูก การกระทำแบบไหนเป็นการกระทำที่ผิด
จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยมุ่งถึงสิ่งที่เป็นเป็นการกระทำภายนอกของมนุษย์ เช่น การแต่งตัว วิธีพูด รวมถึงวัฒนธรรมด้วย ซึ่งจารีตประเพณีอาจเป็นเฉพาะบุคคล หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแต่ละสังคมอาจมีความแต่งต่างกัน
กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย หากใครไม่ปฏิบัติตามจะโดนลงโทษ  และกฎหมายก็ยังเป็นสัญลักษณ์ และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงความยุติธรรมอีกด้วย
ศีลธรรม จะมีความแตกต่างจาก จารีตประเพณีและกฎหมาย คือ จารีตประเพณีและกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนดแบบแผนการกระทำภายนอกของมนุษย์ กฎหมายกับจารีตประเพณีไม่สนใจว่าจะมีจิตใจที่ชั่วร้ายขนาดไหน กฎหมายและจารีตประเพณีสนใจเพียงแต่ว่า ห้ามกระทำในสิ่งที่กฎหมายหรือจารีตประเพณีเห็นว่าไม่ถูกต้องเท่านั้น และถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็ต้องถูกลงโทษ แต่ศีลธรรมนั้น เป็นเรื่องความมีจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวว่าจะมีแบบแผนแบบไหน มีแต่ความรู้สึกภายในจิตใจเท่านั้นที่สามารถเอามาเป็นตัววัดในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ
ในส่วนของกฎหมายกับจารีตประเพณีก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในเรื่องของการกำหนดกฎเกณฑ์ และวิธีการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืน โดยกฎหมายมีความชัดเจนในการกำหนดแบบแผนความประพฤติของบุคคลมากกว่าจารีตประเพณี เนื่องจากกฎหมายจะมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งไหนสามารถทำได้และสิ่งไหนไม่สามารถทำได้ แต่จารีตประเพณีนั้นมีเพียงแต่การปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น ไม่มีการกำหนดจารีตประเพณีไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในส่วนของการลงโทษนั้นก็มีความแตกต่างกัน คือ กฎหมายจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนแน่นอนตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ เช่น ติดคุกหรือชดใช้ค่าเสียหาย แต่บทลงโทษทางจารีตประเพณีจะไม่ได้มีผลร้าย มีก็แต่การถูกประณามจากคนในท้องถิ่นด้วยกันเอง

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ    ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย ซึ่งหมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น มีการจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายดังนี้
         1.      รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช.
         2.      พระราชบัญญัติ  
         3.      พระราชกำหนด
         4.      พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
         5.      พระราชกฤษฎีกา
         6.      กฎกระทรวง
         7.      เทศบัญญัติ

3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ    จากข่าวนี้ดิฉันคิดว่าครูควรจะใจเย็นให้มากกว่านี้ คนเป็นครูต้องยอมรับและเข้าใจในความสามารถของเด็กแต่ละคน เพราะเด็กแต่ละคนมีระดับความรู้ ความสามารถที่แตกต่างกัน ครูไม่ควรใช้อารมณ์ในสอนถ้าเด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ครูก็หาวิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนการอ่านใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านของนักเรียนให้ได้ดีขึ้น ครูไม่ควรลงโทษเด็กรุนแรงขนาดนี้ การลงโทษด้วยการตีเป็นการแก้ปัญหาที่ผิด อีกทั้งการตียังสร้างความบอบช้ำไม่เฉพาะด้านร่างกายเท่านั้นแต่ยังส่งผลต่อจิตใจของนักเรียนและผู้ปกครองอีกด้วย ซึ่งจากข่าวนี้สรุปได้ว่า ครูได้ทำร้ายเด็กเกินกว่าเหตุ เด็กอายุเพียง 6 ขวบ อ่านหนังสือไม่ค่อยออก ไม่ควรทุบตีหรือทำร้ายเด็กรุนแรงขนาดนี้ ครูได้ประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา 96 ซึ่งมีโทษต้องลาออก

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ    จุดแข็ง (S - Strengths)
- ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
- เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
- มีความอดทน
- การวางตัวเหมาะสม
จุดอ่อน (W - Weaknesses)
- ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ขี้อาย
- ไม่อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ
- ไม่มีความรอบคอบ สะเพร่า
- ขี้ลืม
โอกาส (O - Opportunities)
- ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น
- ได้รับความช่วยเหลือจากทางครอบครัว
- ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆจากสถานศึกษาและได้พบปะกับผู้คนและหลายๆสถานที่
อุปสรรค (T – Threats)
-  การเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก ขาดความมั่นใจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในด้านการมนุษย์สัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่เรายังไม่รู้จัก

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ตอบ    อาจารย์มีวิธีการเรียนการสอนที่ดีมาก คือให้เราได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้และส่งงานอาจารย์ในบลอก ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และที่สำคัญงานก็ไม่หายอีกด้วย เราสามารถเข้าไปอ่านได้ทุกเมื่อตามที่เราต้องการ ซึ่งการที่อาจารย์ให้ส่งงานในบล็อกดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ดิฉันเป็นคนขี้ลืม บ่อยครั้งที่ส่งงานเสร็จแล้ว เมื่อต้องการที่จะกลับมาอ่านอีกที งานชิ้นนั้นหาย ซึ่งต้องหาเนื้อหาใหม่มาอ่านอีก ส่วนการสอนในชั้นเรียน ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะสอนทั้งความรู้และการใช้ชีวิต อาจารย์จะเล่าประสบการณ์ต่างๆ ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ ในการนำเสนองาน อาจารย์ก็จะเสริมเนื้อหาที่ทันสมัย ซึ่งบางครั้งเนื้อหาที่เราไปหามานั้นยังไม่อัพเดตข้อมูล จากการเรียนวิชานี้ดิฉันก็ได้เรียนรู้แหล่งสืบค้นข้อมูลมากขึ้น และได้เข้าห้องสมุดมากขึ้น

3 ความคิดเห็น: