วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทิน 9 สอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา
ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา  (เวลา 8.00 - 11.30 น)
1. ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ    ศีลธรรม คือ ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ว่าการกระทำแบบไหนเป็นการกระทำที่ถูก การกระทำแบบไหนเป็นการกระทำที่ผิด
จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ที่มนุษย์ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยมุ่งถึงสิ่งที่เป็นเป็นการกระทำภายนอกของมนุษย์ เช่น การแต่งตัว วิธีพูด รวมถึงวัฒนธรรมด้วย ซึ่งจารีตประเพณีอาจเป็นเฉพาะบุคคล หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งแต่ละสังคมอาจมีความแต่งต่างกัน
กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย หากใครไม่ปฏิบัติตามจะโดนลงโทษ  และกฎหมายก็ยังเป็นสัญลักษณ์ และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงความยุติธรรมอีกด้วย
ศีลธรรม จะมีความแตกต่างจาก จารีตประเพณีและกฎหมาย คือ จารีตประเพณีและกฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งกำหนดแบบแผนการกระทำภายนอกของมนุษย์ กฎหมายกับจารีตประเพณีไม่สนใจว่าจะมีจิตใจที่ชั่วร้ายขนาดไหน กฎหมายและจารีตประเพณีสนใจเพียงแต่ว่า ห้ามกระทำในสิ่งที่กฎหมายหรือจารีตประเพณีเห็นว่าไม่ถูกต้องเท่านั้น และถ้าผู้ใดฝ่าฝืนก็ต้องถูกลงโทษ แต่ศีลธรรมนั้น เป็นเรื่องความมีจิตสำนึกในความเป็นมนุษย์ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวว่าจะมีแบบแผนแบบไหน มีแต่ความรู้สึกภายในจิตใจเท่านั้นที่สามารถเอามาเป็นตัววัดในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ
ในส่วนของกฎหมายกับจารีตประเพณีก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในเรื่องของการกำหนดกฎเกณฑ์ และวิธีการในการลงโทษผู้ฝ่าฝืน โดยกฎหมายมีความชัดเจนในการกำหนดแบบแผนความประพฤติของบุคคลมากกว่าจารีตประเพณี เนื่องจากกฎหมายจะมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้ประชาชนสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งไหนสามารถทำได้และสิ่งไหนไม่สามารถทำได้ แต่จารีตประเพณีนั้นมีเพียงแต่การปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น ไม่มีการกำหนดจารีตประเพณีไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในส่วนของการลงโทษนั้นก็มีความแตกต่างกัน คือ กฎหมายจะมีบทลงโทษที่ชัดเจนแน่นอนตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ เช่น ติดคุกหรือชดใช้ค่าเสียหาย แต่บทลงโทษทางจารีตประเพณีจะไม่ได้มีผลร้าย มีก็แต่การถูกประณามจากคนในท้องถิ่นด้วยกันเอง

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ    ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย ซึ่งหมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น มีการจัดลำดับศักดิ์ของกฎหมายดังนี้
         1.      รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช.
         2.      พระราชบัญญัติ  
         3.      พระราชกำหนด
         4.      พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
         5.      พระราชกฤษฎีกา
         6.      กฎกระทรวง
         7.      เทศบัญญัติ

3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ    จากข่าวนี้ดิฉันคิดว่าครูควรจะใจเย็นให้มากกว่านี้ คนเป็นครูต้องยอมรับและเข้าใจในความสามารถของเด็กแต่ละคน เพราะเด็กแต่ละคนมีระดับความรู้ ความสามารถที่แตกต่างกัน ครูไม่ควรใช้อารมณ์ในสอนถ้าเด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ครูก็หาวิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนการอ่านใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านของนักเรียนให้ได้ดีขึ้น ครูไม่ควรลงโทษเด็กรุนแรงขนาดนี้ การลงโทษด้วยการตีเป็นการแก้ปัญหาที่ผิด อีกทั้งการตียังสร้างความบอบช้ำไม่เฉพาะด้านร่างกายเท่านั้นแต่ยังส่งผลต่อจิตใจของนักเรียนและผู้ปกครองอีกด้วย ซึ่งจากข่าวนี้สรุปได้ว่า ครูได้ทำร้ายเด็กเกินกว่าเหตุ เด็กอายุเพียง 6 ขวบ อ่านหนังสือไม่ค่อยออก ไม่ควรทุบตีหรือทำร้ายเด็กรุนแรงขนาดนี้ ครูได้ประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา 96 ซึ่งมีโทษต้องลาออก

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ    จุดแข็ง (S - Strengths)
- ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
- เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
- มีความอดทน
- การวางตัวเหมาะสม
จุดอ่อน (W - Weaknesses)
- ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ขี้อาย
- ไม่อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ
- ไม่มีความรอบคอบ สะเพร่า
- ขี้ลืม
โอกาส (O - Opportunities)
- ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น
- ได้รับความช่วยเหลือจากทางครอบครัว
- ได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆจากสถานศึกษาและได้พบปะกับผู้คนและหลายๆสถานที่
อุปสรรค (T – Threats)
-  การเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงออก ขาดความมั่นใจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ในด้านการมนุษย์สัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่เรายังไม่รู้จัก

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ตอบ    อาจารย์มีวิธีการเรียนการสอนที่ดีมาก คือให้เราได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้และส่งงานอาจารย์ในบลอก ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน และที่สำคัญงานก็ไม่หายอีกด้วย เราสามารถเข้าไปอ่านได้ทุกเมื่อตามที่เราต้องการ ซึ่งการที่อาจารย์ให้ส่งงานในบล็อกดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ดิฉันเป็นคนขี้ลืม บ่อยครั้งที่ส่งงานเสร็จแล้ว เมื่อต้องการที่จะกลับมาอ่านอีกที งานชิ้นนั้นหาย ซึ่งต้องหาเนื้อหาใหม่มาอ่านอีก ส่วนการสอนในชั้นเรียน ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์จะสอนทั้งความรู้และการใช้ชีวิต อาจารย์จะเล่าประสบการณ์ต่างๆ ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ ในการนำเสนองาน อาจารย์ก็จะเสริมเนื้อหาที่ทันสมัย ซึ่งบางครั้งเนื้อหาที่เราไปหามานั้นยังไม่อัพเดตข้อมูล จากการเรียนวิชานี้ดิฉันก็ได้เรียนรู้แหล่งสืบค้นข้อมูลมากขึ้น และได้เข้าห้องสมุดมากขึ้น

อนุทิน 8

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม เรื่อง SWOT

SWOT เป็นหลักการวิเคราะห์รูปแบบหนึ่ง โดยจะใช้ในการประเมินสถานการณ์และวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งตรวจสอบสภาพองค์กรทั้งภายในและภายนอก โดยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูล 4 อย่างด้วยกัน คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เพื่อแก้ไขปัญหาภายในและภายนอกขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของ SWOT มีทั้งหมด 4 อย่างด้วยกัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ SWOT เป็นการนำตัวอักษรหน้าในภาษาอังกฤษของหลักการทั้งหมด 4 อย่างมารวมกัน ประกอบไปด้วย
1. จุดแข็ง (Strength) คือ ความสามารถและสถานการณ์ที่ดีภายในองค์กร
2. จุดอ่อน (Weakness) คือ ความสามารถและสถานการณ์ที่เป็นข้อด้อยขององค์กร ซึ่งต้องได้รับ    
     การแก้ไข
3. โอกาส (Opportunity) คือ หนทางที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
4. อุปสรรค (Threat) คือ ปัจจัยที่ขัดขวางการทำงานขององค์กร 
หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็น การวิเคราะห์ สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จัก สภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส - อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและ ภายในองค์กร  ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายนอก องค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถ  ด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์  การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ของ องค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป  
การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ขององค์กร ทำให้มีข้อมูล ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และ แสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถกำหนด  กลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทาง สภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้ง สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร โดยมีขั้นตอนในการวิเคราะห์ SWOT ดังนี้
1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กรจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถ ภายในองค์กรทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการ ประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหาร   ที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ขององค์กรเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้า นี้ด้วย    
- จุดแข็งขององค์กร (S - Strengths)  เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กร ว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนา องค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร 
- จุดอ่อนขององค์กร (W - Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจาก มุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควร ปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนั้น สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงาน ขององค์กรที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการ ดำเนินงานขององค์กร
- โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O - Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรใน ระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็ง ขึ้นได้
- อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม  (T - Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถ ส่งผลกระทบในระดับมหภาค  ในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรง และทางอ้อม ซึ่งองค์กร จ าต้องหลีกเลี่ยงหรือปรับสภาพองค์กรให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญ แรงกระทบดังกล่าวได้
3. ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม
เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วย การประเมินสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมา เปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กรกำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้ สถานการณ์เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไปในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กรจะอยู่ใน สถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้
3.1 สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง - โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive –Stratagy)  เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิด มาหาประโยชน์อย่างเต็มที่ 
3.2 สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน - ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือกลยุทธ์การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive Strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัย อุปสรรค ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด 
3.3 สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน - โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลาย ประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้นทางออก คือกลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-oriented Strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่าง ๆ ให้พร้อมที่จะฉกฉวย โอกาสต่าง ๆ ที่เปิดให้
3.4 สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง - อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการ ดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้น แทนที่จะรอจนกระทั่ง สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัวหรือขยายขอบข่ายกิจการ (Diversification Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่น ๆ แทน 


วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทิน 7

ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
1. เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ    เหตุผลที่เราต้องศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูและได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุ เว้นเเต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ

2. ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ก. ผู้ปกครอง  ข.เด็ก  ค.การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตอบ    ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า บิดา มารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ รวมถึงบุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กรับใช้การงาน-
ข. เด็ก หมายความว่า เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค. การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

3. กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษ อย่างไร และถ้าเด็กไม่
สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็ก เข้าเรียน
ตอบ    เจ้าหน้าที่รายงานต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่พบเด็กในสถานที่นั้น เพื่อดำเนินการให้เด็กเข้าเรียนในสถานศึกษานั้น และหากผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดนั้น ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งพันบาท

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบ    สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารการกระทรวง ศึกษาธิการคือ  พระราชบัญญัติได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ องค์กรต่าง ๆ  ในการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยการกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทิน 6

แบบฝึกหัดทบทวน บทที่ 3
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ก. การศึกษา ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ค. การศึกษาตลอดชีวิต ง. มาตรฐานการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน ช. การประกันคุณภาพภายนอก ซ. ผู้สอน ฌ. ครู
ญ. คณาจารย์ ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา ฒ. ผู้บริหารการศึกษา ณ. บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ    ก. การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญก้าวหน้าของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา โดยจัดการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี แบ่งตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ 1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา 2. การศึกษาระดับประถมศึกษา 3. การศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสาหรับส่งเสริมและกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
ช. การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ซ. ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ฌ. ครู หมายถึง บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ญ. คณาจารย์ หมายถึง บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
ฒ. ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
               
2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
ตอบ    ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6)  คือ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการ คือ (มาตรา 8)
1.  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
2.  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.  การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    หลักการจัดการศึกษา คือ   มี 3 ประการคือ (มาตรา 8)
1.  เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
2.  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.  การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ    การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ (มาตรา 9)
1. มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2.  มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.  มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
4.  มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5. ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6.  การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ    1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อย      กว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และไม่เก็บค่าใช้จ่าย 
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่นๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำ

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
1. การศึกษาในระบบ คือ การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
2. การศึกษานอกระบบ คือ การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     การศึกษาในระบบแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดแบ่งไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง มี 3 ระดับคือ 
1.1 การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาคบังคับ การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษานี้อาจจัดเป็นสถานรับเลี้ยงดูเด็ก ศูนย์เด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาล หรือจัดเป็นชั้นเด็กเล็กในโรงเรียนประถมศึกษา
1.2 การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน การจัดสถานศึกษาระดับประถมศึกษา พึงจัดเป็นตอนเดียวตลอดใช้เวลาเรียนประมาณ 6 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะกำหนดอายุเข้าเกณฑ์ ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น และความพร้อมของเด็ก แต่ต้องไม่บังคับเด็ก เข้าเรียนก่อนอายุครบ 6 ปี บริบูรณ์ และไม่ช้ากว่าอายุครบ 8 ปี บริบูรณ์
1.3 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาที่ต่อจากระดับประถมศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพที่เหมาะสมกับวัย ความต้องการ ความสนใจ และความถนัด เพื่อให้บุคคลเข้าใจและรู้จักเลือกอาชีพที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม การศึกษาระดับนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนตอนละประมาณ 3 ปี นับว่าเป็นการศึกษาระดับกลาง ซึ่งจัดขึ้นสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุประมาณ 12 - 17 ปี ให้ได้เรียนหลังจากจบประถมศึกษาและเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป ผู้ที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา อาจจะออกไป ประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ หรือศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งพัฒนาความเจริญงอกงามทางสติปัญญาและความคิด เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การศึกษาระดับนี้จัดแบบกว้างให้ผู้เรียนมีความรู้รอบ และเน้นเฉพาะสาขาวิชาชีพให้ผู้เรียนมีความรู้สึกและชำนาญทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติและมีจรรยา การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา ซึ่งจะครอบคลุมถึงการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญา ที่เรียนภายหลังที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานมาแล้ว

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต้องการให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล งบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป ไปยังสถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัว เป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการบริหารจัดการ โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management)นักวิชาการเชื่อว่า การกำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลเป็นเครื่องมือสำคัญให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเป็นอิสระ สามารถบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาได้สะดวกรวดเร็วมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลจึงหมายถึงโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่กฎหมายยอมรับให้สามารถให้กระทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเองภายในขอบวัตถุประสงค์มีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของสถานศึกษาไว้เป็นการเฉพาะ

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ    แนวการจัดการศึกษา (มาตรา 22-25)  แนวการจัดการศึกษาเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งถือว่าหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีสาระสำคัญดังนี้
1. ยึดหลักว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ให้ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด และต้องให้แต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัด ความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา
2. เนื้อหาสาระของการศึกษาทุกระบบทุกรูปแบบ ต้องเน้นความรู้คู่คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการ (ผสมผสาน) ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา
3. เนื้อหาสาระของวิชาความรู้ที่ต้องไปกำหนดหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยเรื่องต่างๆต่อไปนี้
                - ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                - ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
                - ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
                -  ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดารงชีวิตอย่างมีความสุข
4. การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการดังนี้
                -  จัดเนื้อหาและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
                -  ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
                -  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
                -  จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ทุกวิชา
                -  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียน
                - จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
5. รัฐต้องส่งเสริมการดาเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬา และนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
6. ให้สถานศึกษาจัดประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวน การเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา
7. ให้สถานศึกษาใช้วิธีการหลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ และให้นาผลการประเมินผู้เรียนในระดับก่อนนั้นมาพิจารณามาประกอบด้วย
8. หลักสูตรแกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดโดยคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและให้สถานศึกษาจัดทาสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหา ในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
9. หลักสูตรการศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสาหรับบุคคลที่บกพร่องทางร่างกาย คนพิการ และบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ ต้องมีลักษณะที่หลากหลาย ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
10. สาระของหลักสูตร ที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ มุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม และหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
11. ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น จัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข็มแข็งให้ชุมชน จัดอบรม แสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยากรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชน ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการรวมทั้งวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนสบการณ์พัฒนาระหว่างชุมชน
12. ให้สถานศึกษาต้องพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ระดับการศึกษา

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ เห็นด้วย เพราะ ใบประกอบวิชาชีพ เป็นใบที่ยืนยันได้ว่า คนๆนั้นมีความเหมาะสมและมีความพร้อมที่จะเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะต้องมีความสนใจและใฝ่หาความรู้ เพื่อนำมาสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดีต่อไป

11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ    1. บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
2. การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
3. จัดสรรทุนการศึกษาในรูปของทุนกู้ยืมให้แก่ผู้เรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย ตามความเหมาะสมและความจำเป็น
4. จัดสรรกองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้สถานศึกษาเอกชน เพื่อให้พึงตนเองได้


12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
ตอบ    1. จัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัยการทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น (มาตรา 63)
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีอื่น โดยเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต จัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้ โดยเปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม (มาตรา 64)
3. ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ (มาตรา 65)
4. ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทาได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (มาตรา 66)
5. ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย (มาตรา 67)
6. ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทาน และผลกาไรที่ได้จากการดาเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อพัฒนาคนและสังคม (มาตรา 68)
7. จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้เป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (มาตรา 69)



อนุทิน 5

วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับพระ
DSI ขู่หมายจับพระ 14 รูปวัดพระธรรมกาย หากไม่เข้าให้ปากคำ



ดีเอสไอ เผย ยังไม่ได้รับประสานการเข้าพบจากพระ 14 รูป เตรียมดำเนินการขั้นต่อไป หากวันนี้ยังไม่มา ยกเลิก ม.44 ต้องพิจารณาตามเหตุผล

พันตำรวจเอกทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย พันตำรวจตรี วรณัน ศรีล้ำ รองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผย ว่า ดีเอสไอจะยังปฏิบัติการตรวจค้นจุดต้องสงสัยที่คาดว่า พระธัมมชโยได้หลบหนีไปอาศัยอยู่ ทั้งภายในวัดและนอกวัด โดยจะดำเนินการตรวจค้นจนกว่าจะสิ้นกระบวนการสงสัยในทุกจุด ซึ่งหากพระธัมมชโยยินยอมเข้ามอบตัวคนเดียวทุกอย่างก็จบ 

ขณะที่ ความคืบหน้าในการออกหมายเรียกพระสงฆ์ทั้ง 14 รูปมาให้ปากคำ ขณะนี้ยังไม่ได้รับการประสาน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ยังรออยู่ โดยในวันนี้ หากยังไม่เดินทางมา จะพิจารณาดำเนินการขั้นต่อไปตามกฎหมายจนถึงขั้นออกหมายจับ ส่วนกรณีที่ทางสำนักพระพุทธศาสนาได้เข้าเจรจากับตัวแทนวัดพระธรรมกายเพื่อขอตรวจสอบใบสุทธิของพระภายในวัดว่าพระรูปใดไม่ใช่พระของวัดธรรมกาย เพื่อจะขอผลักดันออก แต่ทางวัดขอเวลาในการตัดสินใจว่าในวันนี้จะให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบหรือไม่ ขณะที่การประเมินตัวเลขมวลชนภายในวัดพระธรรมกาย ล่าสุดพบว่ามีจำนวน 6 พันคน ประกอบไปด้วยพระภิกษุและสามเณร 2 พันรูป และประชาชนอีก 4 พันคน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมายืนยันเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกรอบกฎหมายและยังใช้เจ้าหน้าที่หญิงในการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งกับมวลชน และให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความละมุนละม่อม งดใช้ความรุนแรง พร้อมยืนยันว่าในส่วนของประชาชนที่ต้องการเดินทางออกจากวัดเจ้าหน้าที่ไม่มีนโยบายเข้าจับกุมดำเนินคดี ตามกระแสข่าว แต่พร้อมอำนวยความสะดวก รวมถึงมีรถพยาบาลไว้คอยให้บริการ 
ส่วนการยกเลิกคำสั่ง คสช.มาตรา 44 จะต้องดูตามเหตุผล ความจำเป็น และหลักการว่าเพียงพอที่จะต้องเสนอรัฐบาลเพื่อพิจารณายกเลิกหรือไม่ เนื่องจากการประกาศใช้มาตรา 44 เพื่อให้การดำเนินการในแต่ขั้นตอนเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด



สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการวิเคราะห์ข่าว
จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ประกาศให้วัดพระธรรมกายและพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่ควบคุม เพื่อนำตัวพระธัมมชโย ผู้ต้องหาตามหมายจับในคดีร่วมกันฟอกเงินและรับของโจรจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น 1,400 ล้านบาท มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยมีการให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอเข้าตรวจค้นวัดธรรมกายและเฝ้าดูสถานการณ์มาได้สักระยะหนึ่ง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ย่ำแย่ เมื่อชายวัย 65 ปีผูกคอเสียชีวิตหลังประท้วงให้ยกเลิกใช้มาตรา 44 หลังจากเจอเหตุการณ์ที่มีสุดสลด ก็ได้มีการเสนอโดยจะขอเรียกพระสงฆ์ 14 รูปมาให้ปากคำ แต่ก็ยังไม่มีการเข้ามาให้ปากคำ ทางคสช. ก็ได้มีการขู่ว่าถ้าหากยังไม่มาให้ปากคำ การยกเลิก มาตรา 44 ก็คงต้องพิจารณาตามเหตุผล
ซึ่งความคิดเห็นของดิฉันในการใช้มาตรา 44 กับเหตุการณ์ครั้งนี้ ดิฉันคิดว่าการใช้มาตรา 44 ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีของการใช้มาตรา 44 กับเหตุการณ์ครั้งนี้ คือ 1. จะทำให้มีโอกาสได้ตัวพระธัมมชโยมาดำเนินคดีมากขึ้น 2. เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ส่วนข้อเสียของการใช้มาตรา 44 กับเหตุการณ์ครั้งนี้ คือ 1. เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคล 2. ก่อให้เกิดความรุนแรง อย่างที่ได้อ่านข่าวคือมีการเผชิญหน้าต่อสู้กันระหว่างเจ้าหน้าที่กับพระ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศในสายตาของคนประเทศอื่นๆได้ 3. ทำให้เกิดความสูญเสีย อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประท้วงผูกคอจนเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็เป็นที่น่าสลดใจต่อผู้คนอย่างมาก