วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 2

ตอบคำถามท้ายบทที่ 1  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุขและความเป็นธรรมให้แก่มนุษย์ในสังคม ให้มนุษย์มีสิทธิและหน้าที่เท่าเทียมกันทุกคน หากไม่มีกฎหมายสังคมก็จะเกิดความวุ่นวาย มนุษย์เกิดการเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ขาดความสามัคคีและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม

2. ท่านคิดว่า สังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าสังคมปัจจุบันอยู่ไม่ได้หากไม่มีกฎหมาย เพราะหากไม่มีกฎหมาย มนุษย์ก็จะทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ โดยไม่เกรงกลัวสิ่งใดและไม่คำถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น คนที่มีอำนาจเหนือกว่าก็จะเอาเปรียบคนที่ด้อยกว่า เกิดการเอาเปรียบและแย่งชิงกันไม่สิ้นสุด ซึ่งอาจก่อให้เกิดการประท้วง ท้ายที่สุดมนุษย์ก็ฆ่ากันตาย

3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไป
ก. ความหมาย
ตอบ กฎหมาย เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม กฎหมายมีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจากผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคมใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง  
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ตอบ    1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดอาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติคณะรัฐมนตรีตราพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกาคณะปฏิวัติออกคาสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับอันมิใช่คาวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการคาแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมายสาหรับคาสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมายเช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน 15วันแจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจาการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทาตามกฎหมายนั้นๆกำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทาผิดจะต้องได้รับโทษเช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชาระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทาหรืองดเว้นกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย
ตอบ    1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึงกฎหมายดังกล่าว ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
          2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
          3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
          4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
          5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย มีดังนี้
กฎหมายภายใน มีดังนี้
          1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
              1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
              1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
          2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
              2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
              2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
          3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
              3.1 กฎหมายสารบัญญัติ
              3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ
          4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
              4.1 กฎหมายมหาชน
              4.2 กฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก มีดังนี้
          1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
          2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
          3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
ตอบ ทุกประเทศนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นเป็นกฎข้อบังคับในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย คนในประเทศก็อยู่กันอย่างสงบสุข ไม่เกิดความวุ่นวาย ประเทศก็จะเจริญก้าวหน้า

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้โทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  มีความแตกต่างกัน คือ แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับในกฎหมายแพ่งนั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  แบ่งเป็น 2 ระบบ ดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ หรือระบบลายลักษณ์อักษร
             กฎหมายลายลักษณ์อักษรจะมีความสำคัญมากกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างในการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่ากฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดี ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
2. ระบบคอมมอนลอว์
             เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพาก ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งกลายเป็นกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง และการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งเป็นอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
ก. กฎหมายภายใน
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
             1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
             1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
             2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
             2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน
3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
              3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
              3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
              4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม
              4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอก
             1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
             2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
             3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศ

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
1. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้นมีการแบ่ง
                3.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                3.2 พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
                3.3 พระราชกำหนด
                3.4 ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
                3.5 พระราชกฤษฎีกา
                3.6 กฎกระทรวง
                3.7 ข้อบัญญัติจังหวัด
                3.8 เทศบัญญัติ
                3.9 ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองเพราะประเทศไทย เป็นประเทศประชาธิปไตยมีสิทธิเสียงเท่ากัน รัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า   
1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
          2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
          3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
          4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐทีเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ และกฎหมายการศึกษา ได้กำหนดเพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ

12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ เมื่อเราไปประกอบอาชีพครู แล้วเราไม่ทราบเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา แน่นอนว่าจะมีผลกระทบต่อเราอย่างมาก เพราะเราจะไม่มีความรู้ในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาวะบ้านเมืองปัจจุบัน และจะปฏิบัติงานได้ไม่ถูกต้อง ผู้เรียนก็จะได้รับความรู้ที่มีประโยชน์น้อยและเมื่อได้รับประโยชน์น้อยการศึกษาก็จะไม่มีประสิทธิภาพ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น